EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: ปลอดภัยไว้ก่อน

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 2     เวลา: 40 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์

บันทึกหลังจากการจัดประสบการณ์

บันทึกครั้งที่ 1



สร้างโดย: สุลีพร ปิ่นแก้ว | เมื่อ: 26-04-2022 14:12

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

รู้จักการรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ในกิจวัตรประจำวัน

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ในกิจวัตรประจำวัน เช่น ความปลอดภัยจากการเล่นของเล่นและการเล่นในสนามเด็กเล่น การระวังภัยจากสถานที่และอุปกรณ์ เสี่ยงอันตราย ของมีคม สัตว์มีพิษและคนแปลกหน้า

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การเล่นและทำกิจกรรมอย่าปลอดภัย

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

รู้จักระมัดระวังอันตรายที่เกิดจากการเล่นและทำกิจกรรม

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

การเล่นและทำกิจกรรมอย่างปลอดภัยได้ในชีวิตประจำวัน

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็กการรักษาความปลอดภัยของตนเอง รวมทั้งการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างปลอดภัย 1. การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตรประจําวัน 2. ความปลอดภัยจากการเล่นของเล่นสนามเด็กเล่นและการระวังภัยจากสถานที่และอุปกรณ์เสี่ยงอันตราย 3. การระวังอันตรายจากของมีคม สัตว์พิษ และคนแปลกหน้า

ผ่านกิจกรรม:

1.การฟังนิทาน 2.การพูดแสดงความคิดเห็นความรู้สึก และความต้องการ 3.การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกัประสบการณ์ของตนเอง หรือพูดเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง 4.การเล่นและลงมือปฏิบัติอย่างปลอดภัย

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

ได้เล่นและทำกิจกรรมการเล่นอย่างปลอดภัยทั้งในห้องเรียน และกลางแจ้ง

อารมณ์-จิตใจ

มีความสุข สนุกสนานกับนิทาน และได้แสดงความคิดเห็นของตนเองตามจินตนาการ

สังคม

ได้เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน กล้าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์ เรื่องราวของตนเอง

สติปัญญา

กล้าแสดงความคิดเห็น สรุปใจความจากนิทานและคิดแก้ปัญหาจาการเล่นและทำกิจกรรมอย่างปลอดภัยได้

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

1.เด็กปฐมวัยบอกการรักษาความปลอดภัยในการทํากิจวัตรประจําวัน 2.เด็กปฐมวัยบอกความปลอดภัยจากการเล่นของเล่น การเล่นในสนามเด็กเล่น และการระวังภัยจากสถานที่เสี่ยงอันตราย 3.เด็กปฐมวัยมีความสุข สนุกกับการทำกิจกรรมการเล่นอย่างปลอดัย


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

การเล่นที่ไม่ปลอดภัย อุบัติเหตจาการเล่นกลางแจ้ง และเครื่องเล่นสนามที่เด็กๆเคยพบเห็นและมีประสบการณ์

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

นิทานเรื่อง“ลูกกระต่ายแสนซน” การป้องกันอันตรายและการดูแลตนเองให้ปลอดภัยในการเล่นและทำกิจวัตรประจำวัน

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1.เด็กแบ่งกลุ่ม 3 คน กันช่วยกันถือกระดาษหนังสือพิมพ์เคลื่อนไหวไปรอบๆ บริเวณตามเสียงเพลงบรรเลงพอเพลงหยุดให้เด็กทั้งสองคนเข้าไปยืนอยู่ใต้กระดาษหนังสือพิมพ์ พอเพลงเริ่ม เด็ก ๆเคลื่อนไหวต่อ พอเพลงหยุดให้พับครึ่งหนังสือพิมพ์แล้วเข้าไปยืนใต้กระดาษ เที่ยวต่อไปพับกระดาษครั้งละครึ่งจนกระดาษเล็กที่สุด 1.เพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ให้แข็งแรงและฝึกการเล่นและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
2 การดำเนินกิจกรรม 1. พัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือ 1.1 นําหนังสือเรื่อง “ลูกกระต่ายแสนซน” มาให้เด็กดูหน้าปก ให้เด็กคาดคะเน เรื่องจากปกว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร จดบันทึกชื่อเด็กพร้อมข้อความที่เด็กคาดคะเน 1.2 ครูอ่านหนังสือนิทานเรื่องลูกกระต่ายแสนซนจนจบ โดยชี้คําตรงกับเสียงอ่าน และครูอ่านข้อความที่เด็กคาดคะเนไว้และถามความเห็นเรื่องชื่อของนิทานอีกครั้งหนึ่ง 2. สนทนาซักถามเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันโดยใช้คําถามต่อไปนี้ 2.1ถ้าเพื่อนสาดน้ำเล่นกันขณะแปรงฟัน เด็กจะทําอย่างไร 2.2ถ้าเพื่อน ๆ เล่นของเล่น แล้วทิ้งไว้ไม่เก็บเด็กจะทําอย่างไร 2.3ถ้าเด็กเห็นเพื่อนหกล้มหัวเข่าแตกเราควรทําอย่างไร 1.เพื่อใหเด็กพัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือ 2.เพื่อให้เด็กพัฒนาทักษาทางความคิด การคาดคะเนเหตุการณ์ 3.เพื่อให้เด็กพัฒนาทักษะการสรุปความ ความคิดรวบยอดของเนื้อหา 4.เพื่อให้เด็กสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเชื่อมโยงการแก้ปัญหาในการเล่นและการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
3 ชั้นสรุป 1.เด็กและครูร่วมกันสรุปวิธีปฏิบัติตนให้ปลอดภัยในการแล่นและการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน 1.เพื่อใหเด็กๆรู้จักวิธีปฏิบัติตนให้ปลอดภัยในการแล่นและการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด ติดตาม ประเมินตนเอง วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
4 ขั้นประเมินผล 1.เด็กสรุปและบอกการเล่นและทำกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย 2.ครูสังเกตพฤติกรรมการเล่นดครื่องเล่นสนามและการทำกิจกรรมกลางแจ้งของเด็ก 1.เพื่อให้เด็กสามารถสรุปความและเข้าใจการเล่นและทำกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1.หนังสือนิทาน“ลูกกระต่ายแสนซน” 2.กระดาษ Flip Chart 3.ปากกา

สำหรับเด็ก:

1.หนังสือนิทาน“ลูกกระต่ายแสนซน” 2.กระดาษหนังสือพิมพ์

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

1.จัดพื้นที่สำหรับการทำกิจกรรมกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยได้ 2.จัดมุมประสบการณ์มที่หลากหลายให้เด็กได้เล่นและทำกิจกรรม

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

1.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้น

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้อบอุ่น ครูใช้คำพูดและท่าทางการสอนอย่างอบอุ่น สนใจและฟังความคิดเห็นของเด็กอย่างสนใจ รวมถึงการเสริมแรงทางบวกให้กับเด็ก กล่าวชมเชยเมื่อเด็กกล้าแสดงออกและตอบคำถาม