EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: ฝึกซ้อมหนีไฟ

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 3     เวลา: 30 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์

บันทึกหลังจากการจัดประสบการณ์

บันทึกครั้งที่ 1



สร้างโดย: พนมวรรณ คาดพันโน | เมื่อ: 17-06-2023 04:38

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เห็นคุณค่าชีวิตของตนเอง และผู้อื่น

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

วิธีการเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

ปฏิบัติตามขั้นตอนการหนีไฟได้ถูกต้อง

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

หนีไฟได้ถูกต้อง (เอาตัวรอดได้เมื่อมีเหตุไฟไหม้)

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

ขั้นตอนและวิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้

ผ่านกิจกรรม:

ฝึกหนีไฟ

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กจากการระบายสีรถดับเพลิง

สังคม

การอยู่ร่วมกัน เมื่อออกจากที่เกิดเหตุไฟไหม้แล้วเด็ก ๆ นับจำนวนคนเพื่อเช็คว่าทุกคนหนีออกจากที่เกิดเหตุได้ครบไม่มีใครติดอยู่ในที่เกิดเหตุ

สติปัญญา

การลำดับขั้นตอนการหนีไฟ

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

1. บอกขั้นตอนการหนีไฟได้ 2. บอกเหตุผลของการนับจำนวนคนเมื่อไปถึงจุดนัดพบ 3. บอกได้ถึงความรู้สึกตนเองเมื่อฝึกหนีไฟเสร็จแล้ว 4. บอกความรู้สึกของตนเองเมื่อระบายสีรถดับเพลิงเสร็จ


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กรู้ว่าเวลาเกิดไฟไหม้สังเกตได้จากได้กลิ่นควัน มองเห็นควัน มองเห็นเปลวไฟ รู้สึกร้อน

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กสามารถหนีไฟได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน เด็กเห็นคุณค่าชีวิตของตนเองและผู้อื่นโดยการนับจำนวนคนและแจ้งครูเมื่อมีใครหายไป

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 นำเข้าสู่บทเรียน 1) ครูแจ้งนักเรียนว่าวันนี้จะมีการฝึกซ้อมหนีไฟ 2) ครูชวนนักเรียนพูดถึงสาเหตุของการเกิดไฟไหม้ และอันตรายที่นักเรียนจะได้รับหากหนีไฟไม่ถูกต้อง นำเด็กเข้าสู่ความสนใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ไฟไหม้ และทบทวนความรู้และประสบการณ์เดิมของเด็กเกี่ยวกับไฟไหม้ เด็กบอกได้ว่าอันตรายจากไฟไหม้มีอะไรบ้าง เช่น บาดเจ็บจากการโดนไฟลวก เด็กบอกได้ว่าไฟไหม้สังเกตได้จากอะไร เช่น มีควัน ได้กลิ่นควัน เห็นเปลวไฟ รู้สึกร้อน เป็นต้น
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ
2 การดำเนินกิจกรรม 1) ครูให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ (เมื่อเกิดไฟไหม้จะรู้ได้อย่างไร สังเกตจากอะไรบ้าง เมื่อเกิดเหตุจะมีผู้กดสัญญาณเตือน ขอความช่วยเหลือโดยโทรศัพท์แจ้งรถดับเพลิง 199 เพื่อทำการดับเพลิง หากมีผู้ได้รับบาดเจ็บให้โทรศัพท์แจ้ง 1669 ครูแจ้งขั้นตอนการหนีไฟ) 2) ครูให้เด็กระบายสีรถดับเพลิง (ในขณะที่เด็กระบายสีได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่จุดใกล้กับห้องเรียน) 3) ครูให้เด็กฝึกหนีไฟตามขั้นตอน (เมื่อได้ยินสัญญาณเตือนให้เด็กใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดปิดจมูก ก้มตัวลงต่ำ คลานออกจากห้องอย่างเป็นระเบียบไม่วิ่งไม่แซงคิว เมื่อพ้นบริเวณที่เกิดไฟไหม้แล้วให้รีบไปยังจุดรวมพล นับจำนวนคนเช็คว่าครบหรือไม่ มีใครยังติดอยู่ในที่เกิดเหตุหรือไม่ เมื่อครบแล้วให้เด็กนั่งลงอยู่ในอาการสงบเพื่อรอการช่วยเหลือ รอรถดับเพลิง รอรถพยาบาล รอผู้ปกครองมารับ) 4) ครูให้เด็กระบายสีต่อจนเสร็จ เด็กรู้วิธีและขั้นตอนการหนีไฟ เด็กหนีไฟได้ถูกต้องตามขั้นตอน เด็กสามารถจดจ่อกับการระบายสีรถดับเพลิงจนเสร็จ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย
3 สรุปและประเมินผล 1) เก็บอุปกรณ์ และรวมกลุ่มเด็กทบทวนความรู้ และความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการฝึกหนีไฟ จากการระบายสี ความรู้สึกต่อผลงานระบายสีของตนเอง 2) ครูกล่าวชื่นชมเด็กทุกคนที่ได้ตั้งใจฝึกปฏิบัติหนีไฟ และกล่าวชื่นชมที่เด็กมีความพยายามระบายสีจนเสร็จ และกล่าวชื่นชมผลงานเด็กทุกชิ้นงาน เด็กได้ทบทวนความรู้การหนีไฟ ขั้นตอนการหนีไฟ เมื่อทำแล้วบอกความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ บอกความรู้สึกที่มีต่อผลงานของตนเองได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ติดตาม ประเมินตนเอง

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1) หนังสือ "บันทึกปลอดภัย เจ็ดสหาย 1784 2) โป้สเตอร์ความรู้เกี่ยวกับความรู้และขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ จำนวน 2 แผ่น 2) เครื่องเสียง กร่ิงสัญญาณไฟไหม้ หรือใช้เสียงในโทรศัพท์มือถือ 3) อุปกรณ์จุดไฟ เตา กระดาษ กิ่งไม้เล็ก ๆ หรือหญ้า/ฟางแห้ง ไฟแช็ค

สำหรับเด็ก:

1) ภาพรถดับเพลิงคนละ 1 แผ่น 2) สีไม้ 3) ผ้าสำหรับปิดจมูก

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

จัดห้องเรียนเป็นพื้นที่โล่งไม่มีโต๊ะ เก้าอี้ ให้เด็กนั่งพื้น

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

เด็กทุกคนได้รับคำชื่นชมถึงความใส่ใจในการฝึกหนีไฟ และความพยายามในการระบายสีจนเสร็จ

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ภาพระบายสีรถดับเพลิง สื่ออุปกรณ์ความรู้ เช่นหนังสือ โป้สเตอร์