EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: การคีบแยกแยะ

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาลปีที่2     เวลา: 20นาที นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์

บันทึกหลังจากการจัดประสบการณ์

บันทึกครั้งที่ 1



สร้างโดย: นางวิไล ลิ้มวิเศษศิลป์ | เมื่อ: 18-03-2022 12:39

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

วิธีการจับคีมและวิธีการใช้คีม

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลางจับคีม

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เด็กเรียนรู้วิธีการใช้คีม วิธีการจับคีม

ผ่านกิจกรรม:

การคีบแยกแยะ

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้ลงมือทำ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

1.กล้ามเนื้อเล็ก 2.การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อสายตากับมือ

สติปัญญา

การคิดวิเคราะห์

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กสามารถใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลางจับคีมและใช้คีมแยกแยะของแต่ละชนิดได้


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กรู้จักอุปกรณ์ เคยเห็นคีมคีบแต่ไม่เคยใช้

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กสามารถใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลางจับคีมและคีบแยกแยะของแต่ละชนิดได้

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูแนะนำอุปกรณ์ให้เด็กดูที่ละชิ้นและถามเด็กว่าเคยเห็นอุปกรณ์ที่ครูนำมาให้เด็กดูหรือไม เพื่อนให้ครูรู้ถึงประสบการณ์เดิมของเด็ก
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ
2 ครูสาธิตวิธีการใช้คีมคีบแยกแยะวัตถุ โดยคีบวัตถุใส่ภาชนะที่เตรียมใว้ทั้ง 4ภาชนะโดยคีบวัตถุที่เหมือนกันใส่ใน ภาชนะเดียวกันให้ครบทั้งหมดแล้วคีบวัตถุกลับคืนไว้ที่เดิม เพื่อให้เด็กจำวิธีการคีบแยกแยะวัตถุ นำไปปฎิบัติได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์
3 เด็กลงมือปฏิบัติจริงโดยแบ่งกลุ่มเด็กกลุ่มละ 3คนโดยเลือกตัวแทนของกลุ่มมารับงานและให้แต่ละกลุ่มตกลงกันว่าใครจะทำกิจกรรมก่อนหลังเด็กลงมือปฎิบัติกิจกรรม เพื่อให้เด็กจำนำไปใช้งานและจดจ่อใส่ใจ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ
4 เมื่อเด็กปฏิบัติกิจกรรมเสร็จครูให้ตัวแทนกลุ่มออกมาพูดถึงกิจกรรมว่าชอบหรือไม่ ชอบตรงไหนอย่างไร ทำของหล่นหรือไม่อย่างไร ทำอย่างไรไม่ให้หล่น จากนั้นจึงเก็บอุปกรณ์ จำนำไปใช้งาน/ติดตามประเมินตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ติดตาม ประเมินตนเอง มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1.คีม 2.ถาด 3.ถ้วย 4.ดอกรักพลาสติก 5.ลูกแก้ว 6.ลูกปัด 7.หลอดดูด

สำหรับเด็ก:

1.คีม 2.ถาด 3.ถ้วย 4.ดอกรักพลาสติก 5.ลูกแก้ว 6.ลูกปัด 7.หลอดดูด

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

มีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมกลุ่มได้สะดวก และปลอดภัย

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

ให้เด็กได้ทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ครูให้กำลังใจแก่เด็กที่ทำไม่คล่อง ด้วยนำเสียงอ่อนโยนและชมเชยเด็กที่ทำได้คล่อง