EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: แม่เหล็ก

ระดับชั้น/ช่วงวัย: 3-4 ปี     เวลา: 15 นาที นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์

บันทึกหลังจากการจัดประสบการณ์

บันทึกครั้งที่ 1



สร้างโดย: นางช่อพัชรินทร์ เปสันเทียะ | เมื่อ: 18-03-2022 14:57

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

-ให้เกิดความเข้าใจว่าแม่เหล็กมีขั้วบวกกับขั้วลบ

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

รูปร่างลักษณะที่ต่างๆกันของแม่เหล็ก

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

แยกวัตถุหรือสิ่งของที่แม่เหล็กดูดและไม่ดุด

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

-รูปร่างต่างๆของแม่เหล็ก -ขั้วบวกขั้วลบของแม่เหล็ก แรงดูดและผลัก - วัตถุหรือสิ่งของที่แม่เหล็กดูดและไม่ดูด

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

การแยกวัตถุและสิ่งของที่แม่เหล็กดูดและไม่ดูดได้

ผ่านกิจกรรม:

- เตรียมแม่เหล็กรูปทรงต่างๆ - นำวัตถุเช่น ตะปู ช้อน เศษเหล็ก - สิ่งของเช่น ถุงเท้า ยางวง ฝาขวดน้ำ ฯลฯ

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

-ใช้มือปสานกับสายตาในการแยกวัตถุสิางของ

อารมณ์-จิตใจ

มีความสุขจากการได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง และทำงานร่วมกับเพื่อนอย่างมีความสุข

สังคม

ช่วยกันบอกหรือแยกสิ่งที่ครูเตรียมมาสอน

สติปัญญา

ทำให้เก็กเกิดความเข้าใจและมีจินตนาการจนากการได้เรียนรู้และสามารถนำความรู้ไปต่อยอด

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผูอื่น - มีความภาคภูมิใจเในตนเองเมื่อเข้าใจและทำผลงานถ - แสดงความยินดีกับเพื่อนๆเมื่อเพื่อนทำผลงานที่ดี


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

บอกรูปทรงๆแม่เหล็กได้ ว่ามีรูปทรง - วงกลม - แท่งกลม (ทรงกระบอก) - ตัว U หรือเกือกม้า

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

ให้เด็กเลือกหยิบของเล่นในมุมต่างๆฝนห้องเรียนทึ่แม่เหล็กดูด และ ไม่ดูดมาวางในตะกร้าที่ครูจัดไว้

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 - นำเข้าสู่บทเรียนซักถามให้เด็กแสดงความคิดเห๋นต่างๆ - เพื่อจะได้รู้ภูมิความรู้และความเข้าใจเดิมของเด็ก
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
2 - ครูนำแม่เหล็ก - ครูจัดวางวัตถุและสิ่งของต่างๆ - เตรียมตะกร้า 2 ใบ 1.ติดบัตรคำดูด 2.ติดบัตรคำไม่ดูด เพื่อดึงดูดความสนใจกระตือลือร้น (อยากเรียนรู้)
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
3 -ครูซักถามชื่อและรูปทรงของแม่เหล็ก - ซักถามชื่อสิ่งของด่างๆที่เด็กเห็น *โดยให้เด็กยกมือขึ้นก่อนตอบคำถาม เพื่อให้เด็กกล้าแสดงออก และอดทนรอคอย
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
4 - ครูสอนให้เด็กออกเสียงตามบัตรคำว่าดูด/ไม่ดูด - ออกเสียงพยัญชนะไทย ด ม ให้ชัดเจน เพื่อให้รู้จักพยัญชนะไทย และออกเสียงถูกต้อง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
5 - ครูสอนแบบทดลองโดยหยิบวัตถุสิ่งของที่แม่เหล็กดูดและไม่ดูดแยกวางใส่ตะกร้าบัตรคำ - ครูให้เด็กทีละคน ออกมาหน้าชั้น หยิบสิ่งของและวัตถุแยกลงตะกร้า -เพื่อให้เด็กเข้าใจและแยกได้ถูกต้อง -เพื่อให้เด็กมีวินัยรู้ลำดับก่อนหลัง (อดทนและรอคอย) - เพื่อให้เด็กมั่นใจตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
6 - ตรวจสอบความถูกต้อง ชื่นชมเด็กและให้กำลังใจ -ครูทบทวนโดยให้เด็กเล่นเกมโดยไปหยิบส่งของและวัตถุในมุมมาแยกใส่ในตะกร้าบัตรคำโดยใช้เพลงประกอบ - เพื่อเพิ่มความเข้าใจ - เพื่อให้เด็กๆเกิดความคิดสร้างสรรค์ -เพื่อส่งเสริมพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
7 - ทบทวนสรุป โดยให้เด็กทุกคนมีการแสดงความคิดเห็น ยกมือก่อนตอบ - สอบถามว่าเด็กชอบการเรียนรู้แบบนี้หรือไม่เพราะอะไร - เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ - เพื่อสร้างวินัยการอยู่ร่วมในสังคม - เพื่อให้เด็กอารมณ์ดีและมีความสุข
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

- สาระความรู้เรื่องเรื่องแม่เหล็ก จากหนังสือ วารสาร เพจความรํุู Google

สำหรับเด็ก:

- การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริง (สื่อของจริง) - บัตรคำ - เพลง - เกม

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

- แสงสว่างและอุณหภูมิในห้องเรียนที่เหมาะสมและปลอดภัย - ระยะห่างของที่นั่งเหมาะสมและปลอดภัย - ระยะสายตาของเด็กกับสื่อต่างๆอยู่ในระยะเหมาะสมและปลอดภัย

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

- นำโปสเตอร์ แผ่นพับ บัตรคำ รูปภาพจากวารสาร ฯลฯเกี่ยวกับการทำงานของแม่เหล็กหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีแม่เหล็กเป็นองค์ประกอบเช่น ลำโพงวิทยุ เครื่ิองเสียง - แม่เหล็ก หลากหลายรูปทรง - วัตถุสิ่งของที่เตรียมไว้สอนและ ให้สำรวจได้จากมุมต่างๆในห้องเรียน

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

- เตรียมความพร้อมโดยร้องเพลงและทำท่าประกอบเพลงไปพร้อมกัน - ครูสังเกตการมีส่วนร่วม อารมณ์ สีหน้า การประสายตา