EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: กิจกรรมสร้างสรรค์

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 2     เวลา: 20-30 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์

บันทึกหลังจากการจัดประสบการณ์

บันทึกครั้งที่ 1



สร้างโดย: รัตติกาล ช่วยเชิด | เมื่อ: 23-03-2022 16:00

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

มีความชื่นชมต่อผลงานของตนเองและผู้อื่น

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

เพื่อให้เข้าใจลักษณะสีของวัสดุตามธรรมชาติ

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การใช้กล้ามเนื้อมือประสานสัมพันธ์กับตา

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

ปฏิบัติการพิมพ์ภาพจากวัสดุธรรมชาติได้

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

สามารถบอกได้ว่าผลงานที่ตนเองทำคืออะไร

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เรียนรู้ในการสร้างสรรผลงานตามจินตนาการ

ผ่านกิจกรรม:

สร้างสรรค์ การพิมพ์ภาพด้วยวัสดุธรรมชาติ

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การหยิบวัสดุไปจุ่มสีเพื่อพิมพ์ภาพ

อารมณ์-จิตใจ

การทำผลงานตามจินตนาการ

สังคม

การปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างง่ายได้ เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น

สติปัญญา

บอกสีของวัสดุที่พิมพ์ ลักษณะ รูปร่าง

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กเล่าถึงผลงานของตนและเชื่อมโยงถึงประสบการณ์ด้านอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้ หรือ เด็กรู้จักวางแผนและแก้ปัญหาในการสร้างบ้านร่วมกับเพื่อนๆ จนผลงานสำเร็จ


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ด็กบอกเล่า เพื่อให้ครูทราบว่าเด็กมีความรู้ หรือประสบการณ์อะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในครั้งนี้ และยังช่วยให้เด็กได้ทบทวนความรู้ความเข้าใจเดิมของตน เช่น เด็กมีประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับการทดลองและสังเกตการพิมพ์ภาพจากวัสดุ ครูบันทึกประสบการณ์เดิมของเด็ก

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

ครูต่อยอดโดยการนำสีทั้งสองสีมาผสมกันและให้นักเรียนสังเกตสีที่เปลี่ยนไป ว่ามีความเหมือนหรือต่าง

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1.เพื่อบอกสีของภาพได้ 2.กล้ามเนื้อมือประสานสัมพันธ์กับตา
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ มุ่งเป้าหมาย
2 1. ครูเตรียมกระดาษ A4 สีน้ำ พู่กัน และใบไม้ หัวผักกาด 2. ครูสาธิตการพิมพ์ภาพให้เด็กดู การปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
3 1. เริ่มจากการนำกระดาษมาวางจากนั้นหยิบใบไม้และนำพู่กันจุ่มสีแล้วนำมาทาบนใบไม้ แล้วทาบลงบนกระดาษ การทำงานจากจินตนาการและความคิดของตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: ยืดหยุ่นความคิด ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ
4 1.เด็กเก็บวัสดุอุปกรณ์ทำความสะอาดล้างมือ 2. นำเสนอผลงานของตนเองหน้าชั้นเรียน เพื่อแสดงความคิดรวบยอดของผลงาน
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
5 สรุปและประเมินผล เพื่อติดตามความก้าวหน้าของพัฒนาการในกิจกรรมสร้างสรรค์
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1. กระดาษ A4 2. สีน้ำ จานสี พู่กัน 3.ใบไม้ วัสดุธรรมชาติ 4. ผ้าเช็ดมือ 5. บัตรภาพสี

สำหรับเด็ก:

. กระดาษ A4 2. สีน้ำ จานสี พู่กัน 3.ใบไม้ วัสดุธรรมชาติ 4. ผ้าเช็ดมือ

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

จัดโต๊ะและเก้าอี้พร้อมบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

ครูสนทนาโต้ตอบโดยใช้คำถาม เช่น นักเรียนชอบสีอะไร ภาพที่พิมพ์เป็นภาพอะไร และมีสีอะไร

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

การใช้วินัยเชิงบวกในการสื่อสารและปรับพฤติกรรม ครูชมเชยเมื่อนักเรียนปฏิบัติและทำได้